การทำงานของระบบ Network และ Internet
1.เครือข่ายเฉพาะที่(Local Area Network : LAN)
เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน เช่น อยู่ภายในอาคาร หรือหน่วยงานเดียวกัน
2.เครือข่ายเมือง(Metropolitan Area Network : MAN)
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
3.เครือข่ายบริเวณกว้าง(Wide Area Network : WAN)
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน ดังเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการครอบคลุมไปทั่วประเทศ หรือทั่วโลก เช่น อินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสถานะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology)
การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่าย โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลักได้ 4 แบบ คือ1)เครือข่ายแบบดาว
2)เครือข่ายแบบวงแหวน
3)เครือข่ายแบบบัส
4)เครือข่ายแบบต้นไม้
1.แบบดาว เป็นการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆมาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่องโยงระหว่างสถานีต่างๆที่ต้องการติดต่อกัน
ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบดาว
2.เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกันเครื่องขยายตัวสัญญานที่ส่งจะรับและส่ง ถ้าใช้ก็รับไว้แต่ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไปเรื่อยๆเป็นวงหากข้อมูลที่ส่งเป็นสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้สถานีนั้นๆเครื่องขยายสัญญาณต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วยถ้าใช้ก็รับไว้แต่ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป
3.เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ โดยมีอุปกรณ์ที่มีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ช่วงเวลาหนึ่ง การจัดส่งข้อมูลด้วยวิธีนี้จะต้องกำหนดพิธีการ สัญญาณที่แตกต่างกันในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัส คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่รับข้อมูลทุกชนิดถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวซึ่งจะใช้ในเครือค่ายเล็ก ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า
4.เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network) ดป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถ ส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสานข้อมูลผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน
การประยุกต์ใช้งานของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น3ประเภท
1.ระบบเครือข่ายแบบศูนย์กลาง (Centrallized Networks)
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3.ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server
1.ระบบเครือข่ายแบบศูนย์กลาง (Centrallized Networks)
เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผลได้ และมีการเชือมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ ใช้การเดินสายเคเบิ้ลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน โดยส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลที่เครื่องกลางวึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
แต่ระสถานีงานบนระบบเครือข่ายPeer-to Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย เครื่องแต่ละสถานีงานมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Aone) คือจะต้องมีทรัพยากรณ์ภายในของตัวเอง เช่นดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้
3.ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server
ระบบClient / Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครืองServer ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย1เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบศูนย์รวมกลาง แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ เครืองที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบClient / Server ราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการ ทรัพยากรต่างๆ
นอกจากนี้เครือข่ายยังต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเอง
ระบบเครือข่ายแบบClient / Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครืองServer สำหรับให้บริการต่างๆเพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนของเสียของระบบนี้คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่า ระบบPeer-to Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น